Policy Brief

ผู้หญิงท้องต่อส่วนใหญ่อยู่ในภาวะจำยอม เพราะไม่สามารถทำแท้งได้เนื่องจากมีอายุครรภ์ที่สูง  มีความเสี่ยงสูงต่อการทำแท้งเองและไม่ปลอดภัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่จะรู้สึกโดดเดี่ยว  และต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดการยอมรับที่ตนเองจะต้องท้องต่อจนคลอดต่อไป

ดูข้อเสนอเชิงนโยบาย #1 (pdf.)


 

ผู้หญิงท้องไม่พร้อมและต้องท้องต่อนั้น ส่วนมากต้องเผชิญปัญหาที่ซับซ้อนและยากลำบากตามบริบทชีวิตของผู้หญิง ว่าเป็น “ท้องต่อในโรงเรียน” “ท้องต่อในชุมชน” และ “ท้องระหว่างอยู่ในเรือนจำ/สถานพินิจ”  อย่างไรก็ตาม ทุกคนต้องเผชิญต่อแรงกดดันและแรงเสียดทานที่ถาโถมเข้ามาหา ดังนั้นเมื่อผู้หญิงตัดสินใจท้องต่อไม่ว่าจะอยู่ในบริบทชีวิตแบบไหน ช่วงเวลาตั้งครรภ์ต่อจนถึงคลอด จึงเป็นช่วงวิกฤตของชีวิตที่สังคมละเลยและมองไม่เห็น

ดูข้อเสนอเชิงนโยบาย #2 (pdf.)


 

ภายใต้กรอบกฎหมายว่าด้วยศาลคดีเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ที่มีการใช้มาตรการคุ้มครองเด็กโดยอาศัยอำนาจคำสั่งศาลในการจัดทำแผนแก้ไขและฟื้นฟู เยียวยาเด็กและวัยรุ่น ผนวกกับพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ที่เปิดให้องค์กรเอกชนมีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ทำให้ศาลคดีเยาวชนและครอบครัว โดยผู้พิพากษาสมทบสามารถใช้อำนาจศาลในการพิจารณาเพิ่มโอกาสและทางเลือกด้านการศึกษาให้กับเด็กได้

ดูข้อเสนอเชิงนโยบาย #3 (pdf.)


 

บ้านพักสำหรับผู้หญิงและวัยรุ่นที่ท้องไม่พร้อม” เป็นบริการพื้นฐานที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมและจำยอมท้องต่อ  บ้านพักฯ ที่มีระบบบริการรอบด้าน ทำงานบนฐานความเข้าใจความต้องการของผู้ประสบปัญหานั้น ต้องมีบทบาทในการประสานความช่วยเหลือด้านสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิ ร่วมถึงการเสริมศักยภาพและโอกาสด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ  การทำงานกับบุคคลรอบข้างครอบครัวและชุมชนเพื่อให้เป็นระบบสนับสนุนที่จะช่วยผู้หญิงให้สามารถดำรงชีวิตและเลี้ยงดูแลเด็กต่อไป ตลอดจนหาทางออกทางเลือกในกรณีที่ยังไม่สามารถดูแลลูกได้

ดูข้อเสนอเชิงนโยบาย #4 (pdf.)


 

สุขภาพผู้หญิง คือ สุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ การตั้งครรภ์ การยุติการตั้งครรภ์ เป็นสิทธิเหนือเนื้อตัวร่างกายผู้หญิงในการกำหนดวิถีชีวิตด้านการเจริญพันธุ์ของตนเอง นั่นคือ หากตั้งครรภ์ต้องมีทางเลือกในการตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์ หากไม่ต้องการท้องต้องเข้าถึงอุปกรณ์คุมกำเนิดที่รัฐจัดให้ การท้องทุกท้องควรเกิดขึ้นจากความตั้งใจ ความพร้อมของผู้หญิง(และคู่) ภายใต้บริการฝากและตรวจครรภ์ก่อนคลอดที่เป็นไปตามมาตรฐานตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกเพื่อให้การเกิดทุกครั้งเป็นไปอย่างมีคุณภาพ  และเพื่อให้ได้ประชากรใหม่ของโลกตั้งต้นชีวิตด้วยการมีสุขภาพกายและใจที่อบอุ่นมั่นคง

ดูข้อเสนอเชิงนโยบาย #5 (pdf.)


 

การทำแท้งเป็นเรื่องสุขภาพ: Our Rights, Our Abortion, Our Health

ดูข้อเสนอเชิงนโยบาย #6 (pdf.)


 

สถานการณ์ท้องไม่พร้อมแล้วต้องท้องต่อเป็นประเด็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ถูกมองข้ามในสังคมไทย เป็นปัญหาโครงสร้างในด้านเพศภาวะ ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตด้วยตัวเอง ครอบครัวและคนในสังคมยังคงมองว่า เป็นความผิดที่ตัวผู้หญิง จำเป็นที่ผู้หญิงต้องรับกรรมและภาระนั้น เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างจากการขาดมาตรการและนโยบายอย่างเป็นระบบของหน่วยงานและขาดระบบทรัพยากรรองรับ

ดูข้อเสนอเชิงนโยบาย #7 (pdf.)


 

ท้องไม่พร้อมกรณีท้องต่อเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน การให้บริการจึงต้องจัดอยู่บนฐานที่มองเห็นชีวิตผู้หญิงทั้งชีวิต เป็นแบบองค์รวม ไม่ใช่การช่วยเหลือเฉพาะหน้า แต่ต้องทำงานเป็นกระบวนการ และแบบทีมสหวิชาชีพ

ดูข้อเสนอเชิงนโยบาย #8 (pdf.)