ศาลรัฐธรรมนูญ

การยื่นจดหมายทวงถามความคืบหน้าต่อ

ศาลรัฐธรรมนูญ กรณีร้องเรียน

กฎหมายทำแท้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

 

 

                วันที่ 26 กันยายน 2562 เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม และ เครือข่ายแพทย์อาสา (R-SA) จัดกิจกรรมยื่นจดหมาย ทวงถามความก้าวหน้าต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการร้องเรียน เรื่อง ขอให้พิจารณา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ 305 เกี่ยวกับกฎหมายทำแท้งว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2561 และศาลได้รับคำร้อง ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2561 นั้น จนถึงปัจจุบันผู้ยื่นร้องเรียนยังไม่ได้รับการแจ้งถึงความก้าวหน้าของการพิจารณาดังกล่าว และต้องการทราบแนวปฏิบัติในการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องดังกล่าว หลังจากยื่นจดหมายต่อตัวแทนศาลรัฐธรรมนูญ เครือข่ายฯ ได้มีการแสดงละครเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับผลกระทบของกฎหมายที่เอาผิดกับผู้หญิงที่ทำแท้งบริเวณศูนย์ราชการ หน้าศาลรัฐธรรมนูญ

 

 

การประชุมเครือข่ายช้อยส์ #1


“สังคม(ไม่)ทำอะไรกับวัยรุ่นที่ท้องต่อ” 


 

เป้าหมาย

เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างของความช่วยเหลือวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ต่อ รวมถึง ระดมข้อเสนอแนะต่อแนวทาง การจัดสวัสดิการสังคมและสุขภาพเพื่อให้เกิดระบบบริการ และการส่งต่อวัยรุ่น ผู้ประสบปัญหา กรณีท้องไม่พร้อม ที่ต้องการตั้งครรภ์ต่ออย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ

โดยในเวทีอภิปรายจะนำเสนอสถานการณ์การให้ความช่วยเหลือกรณีตั้งครรภ์ต่อจากประสบการณ์ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

วิทยากร:  

  1. คุณศุภอาภา องค์สกุล คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาอิสระตาม พรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

:   นำเสนอประสบการณ์การทำงานให้ความช่วยเหลือผู้หญิงและครอบครัว ที่ท้องต่อ

  1. นายชัยวิชิต โกพลรัตน์ นักพัฒนาสังคม  สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม

:  แนวทางการให้ช่วยเหลือวัยรุ่นที่ท้องต่อ  รูปแบบกาารให้บริการและเครือข่ายการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือ

  1. คุณสมวงศ์ อุไรวัฒนา   มูลนิธิเข้่าถึงเอดส์  สายด่วนให้คำปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 

ประสบการณ์ผู้ให้บริการสายด่วน 1663  กับการช่วยเหลือวัยรุ่นที่ท้องต่อ

  1. นางอภิญญา ชมภูมาศ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม

: นำเสนอนโยบายสู่ปฏิบัติการเพื่อให้เกิดสวัสดิการสังคมแบบบูรณาการ สำหรับวัยรุ่นที่ท้องต่อและครอบครัว  ชุมชนสู่หน่วยบริการทุกระดับ

 

ดำเนินรายการโดย

รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ตั้งท้องไม่พร้อม:

ผู้เข้าร่วม: 

ผู้ปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสวัสดิการสังคมและสุขภาพกับวัยรุ่นที่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อ

การประชุมวิชาการเรื่อง“วิธีการคุมกำเนิดและการเข้าถึงบริการ”

การประชุมวิชาการเรื่อง“วิธีการคุมกำเนิดและการเข้าถึงบริการ”
วันอังคารที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐- ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องธานี ชั้น ๑ โรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร
จัดโดย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

*ดาวน์โหลด รายงานการประชุมวิชาการเรื่อง“วิธีการคุมกำเนิดและการเข้าถึงบริการ” ได้ที่นี้*

Press Release ฉบับที่ 2


30 พฤศจิกายน 2553

ข้อเสนอมาตรการเร่งด่วน

เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อมอย่างรอบด้าน

ต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

ของเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม[1]

กรณีพบซากตัวอ่อนทารกจำนวนมาก ได้สะท้อนปัญหาการทำแท้งเถื่อนและชี้ว่าการท้องไม่พร้อมยังคงเป็นปัญหาของสังคมไทย ที่ยังขาดการดำเนินการป้องกันและแก้ไขอย่างเป็นระบบ รอบด้าน และยั่งยืน เครือข่ายฯซึ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับปัญหาท้องไม่พร้อมในทุกมิติ ขอเสนอมาตรการเร่งด่วนต่อผู้บริหารประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนท้องไม่พร้อม และ ลดการทำแท้งเถื่อน ดังต่อไปนี้

๑. มาตราการลดจำนวนการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม

ก.   ให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จัดให้มีการสอนเพศศึกษาที่รอบด้านครอบคลุมทุกช่วงวัย สอดคล้องกับวัยและบริบทของเยาวชน

ข.   ให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน จัดให้มีศูนย์สุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ เน้นความรู้และบริการคุมกำเนิด ให้กับหญิงและชายทุกวัย ทั้งที่สมรสแล้วและยังไม่สมรส

ค.   ให้องค์กรสื่อภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ จัดให้มีการสื่อสารสาธารณะเพื่อให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างรับผิดชอบและปลอดภัยต่อเนื่องอย่างน้อย ๕ ปี

๒. มาตรการลดการทอดทิ้ง/ทำร้ายทารก และการทำแท้งเถื่อน

ก.     ให้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนและไม่ตีตราในการดูแลนักเรียนนักศึกษาที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม และสนับสนุนให้ได้มีโอกาสทางการศึกษา

ข.     ให้กระทรวงแรงงานกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนต่อสถานประกอบการที่กดดันให้ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ต้องออกจากงาน รวมทั้งให้สถานประกอบการต้องจัดให้มีศูนย์เด็กเล็กภายในสถานประกอบการ

ค.     ให้ศูนย์พึ่งได้ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยแรกรับและจัดให้มีบริการปรึกษาทางเลือกสำหรับผู้ประสบปัญหาตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม

ง.      ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมมือและให้การสนับสนุนหน่วยงานภาคเอกชนเพื่อ ๑) ปรับปรุงระบบบ้านพักทุกจังหวัดเพื่อดูแลผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมได้อย่างมีคุณภาพ ๒) พัฒนาและขยายบริการยกบุตรบุญธรรมให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมและฉับไว ๓) ปรับปรุงและขยายศูนย์ดูแลเด็กเล็กให้มีทุกจังหวัดอย่างมีคุณภาพและราคาย่อมเยาว์

จ.      ให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงยุติธรรม ร่วมกันกำหนดมาตรเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่หญิงตั้งครรภ์เพราะถูกข่มขืน หรือมีปัญหาสุขภาพ และการตั้งครรภ์จากความผิดตามกฎหมายอาญาให้ปฎิบัติได้จริง

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://choicesforum.wordpress.com หรือที่ เมทินี พงษ์เวช บ้านพักฉุกเฉิน 081-7501399

ณัฐยา บุญภักดี มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง 0837033325 ทัศนัย ขันตยาภรณ์ องค์การแพธ 081-6675254

อุษาสินี ริ้วทอง เพศศึกษาเพื่อเยาวชน องค์การแพธ 089-4497074 และ กานต์รวี ดาวเรือง เครือข่ายท้องไม่พร้อมฯ 082-4508514


[1] เป็นเครือข่ายขององค์กรภาครัฐและเอกชน ๔๙ องค์กร มีภารกิจทำงานครอบคลุมทุกมิติชีวิตของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ตั้งแต่เรื่องเพศศึกษา การคุมกำเนิด การปรึกษาทางเลือก การดูแลผู้หญิงที่ตัดสินใจท้องต่อตั้งแต่ก่อน-หลังคลอด และการดูแลแม่และเด็กในระยะยาว รวมทั้งการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และงานวิชาการ โดยมีเป้าหมายสูงสุดที่คุณภาพชีวิตของผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหา

*****ดาวน์โหลดเอกสาร  Press release ฉบับที่ 2ข้อเสนอเรื่องมาตรการเร่งด่วนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมอย่างรอบด้านข้อเท็จจริงของปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและการทำแท้งเถื่อน ที่นี่ค่ะ