ตามรอยการเดินทางเครือข่ายอาสา RSA

ตามรอยการเดินทางเครือข่ายอาสา RSA

 

คลิกที่ภาพ หากต้องการดาวน์โหลดหรืออ่านหนังสือ

 

          เครือข่ายอาสาเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย หรือ Referral system for Safe Abortion (RSA)  เป็นการรวมตัวกันของแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และสหสาขาวิชาชีพทางด้านสุขภาพ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ที่เล็งเห็นถึงปัญหาการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย (การทำแท้งเถื่อน) ในสังคมไทย จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้หญิงทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่การตกเลือด การติดเชื้อในโพรงมดลูก ความรู้สึกผิดบาปจากการทำแท้งของตัวผู้หญิงเอง การถูกด้อยค่าและการถูกตีตราจากสังคม ไปจนถึงการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนหลังการทำแท้ง หรือการทำร้ายตัวเองเมื่อถูกปฏิเสธจากการทำแท้ง บุคลากรทางการแพทย์กลุ่มนี้จึงได้รวมตัวกันในการพัฒนาระบบส่งต่อเพื่อให้การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่เดิมอยู่ในลักษณะ “ใต้ดิน” ให้ขึ้นมาอยู่ “บนดิน” … เครือข่ายอาสา RSA จึงเป็นปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวในแวดวงสาธารณสุขที่น่าสนใจ

 

กฎหมายทำแท้งที่เข้มงวดไม่ได้ลดการทำแท้ง

งานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการทำแท้งในประเทศเม็กซิโก ที่ศึกษาโดยมหาวิทยาลัยในเม็กซิโก (El Colegio de Mexico) สภาประชากร ประเทศเม็กซิโก และสถาบันกัทเมเชอร์ พบว่าแม้จะมีกฎหมายทำแท้งที่เข้มงวด แต่การทำแท้งก็ยังเพิ่มขึ้นยกเว้นในเขตเมืองหลวงของเม็กซิโกที่การทำแท้งในอายุครรภ์ระยะ 12 สัปดาห์แรกถูกกฎหมายตั้งแต่ปี 2550 โดยระหว่างปี 2533 และ 2549 อัตราการทำแท้งเพิ่มขึ้น จากเดิมผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 1,000 คน จะมีการทำแท้ง 25 คน เพิ่มเป็น 33 ต่อ 1,000 คน ปัจจุบันอัตราการทำแท้งในเม็กซิโกสูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 29 ต่อ 1,000 คน และอัตราเฉลี่ยของภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียนอยู่ที่ 31 ต่อ 1,000 คน ในช่วงเวลาเดียวกันพบว่า จำนวนผู้หญิงที่ทำแท้งเพิ่มขึ้น 64% จาก  533,000 คน ในปี 2533 เป็น 875,000 คนในปี 2549 Continue reading