ประเทศอูกันดาได้ทำโครงการผลิตสื่อส่งเสริมการสื่อสารเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมา ชื่อว่า Straight Talk media program เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และอนามัยเจริญพันธุ์แก่เยาวชน ตั้งแต่ปี 2536 โครงการนี้ผลิตสื่อประเภทต่างๆ ได้แก่ รายการวิทยุหลากหลายภาษา คน เด็กผู้ชาย 1,021 คน ที่มีอายุระหว่าง 10-19 ปี โดยเริ่มรวบรวมข้อมูลระหว่าง 29 สิงหาคม – 7 กันยายน 2548 ใน 6 อำเภอของอูกันดา ผลการประเมินพบว่าสื่อของโครงการถูกใช้อย่างแพร่หลาย
ผลการสำรวจระบุว่านักเรียนชั้นประถมและมัธยมต่างได้รับสื่ออย่างทั่วถึง ส่วนเด็กที่อยู่นอกระบบโรงเรียนได้รับประมาณ 56% เพราะว่าสื่อของโครงการใช้ภาษาท้องถิ่นด้วย ทำให้เข้าถึงเด็กจำนวนมาก หนังสือพิมพ์ภาษาต่างๆ สำหรับเด็กมัธยม และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กระดับชั้นประถม นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมในโรงเรียนด้วยเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เป็นมิตรต่อเยาวชน
โครงการนี้ได้รับคำชมว่าเป็นโครงการสื่อที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับโครงการประเภทเดียวกัน แต่ยังคงมีคำถามว่า ข้อมูลเหล่านี้ไปถึงเยาวชนไหม และมีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมต่อเยาวชนหรือไม่? จึงมีการประเมินผลโครงการนี้ขึ้นครั้งแรก โดยองค์กรให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) สนับสนุนงบประมาณให้สภาประชากรประเมินผลโครงการในปี 2548-2549 การประเมินใช้วิธีการสัมภาษณ์เด็กผู้หญิง 1,019 แม้ว่าอูกันดาจะมีการสื่อสารกันหลายภาษา เกือบ 60% ของวัยรุ่นที่คุ้นเคยกับสื่อของโครงการดีตอบว่า พวกเขาเข้าใจว่าสื่อต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ สนับสนุนแนวทางต่างๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ เช่น งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ มีคู่คนเดียว ใช้ถุงยาง การตรวจเลือดโดยสมัครใจและรับคำปรึกษา และผลสำรวจยังชี้ว่า ยิ่งได้รับสื่อของโครงการมากเท่าไรก็ยิ่งมีความรู้ด้านอนามัยเจริญพันธุ์มากเท่านั้น”
วัยรุ่นมีกิจกรรมทางเพศน้อยลงและใช้ถุงยางมากขึ้น
เด็กผู้ชาย ที่ได้รับสื่อทั้ง 3 ประเภท มีแนวโน้มที่จะมีเพศสัมพันธ์น้อยกว่าเด็กผู้ชายที่ไม่เคยได้รับสื่อเลยถึง 61% 38% ของเด็กผู้ชาย และ 41% ของเด็กผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์มาเป็นเวลา 12 เดือนแล้วก่อนการสำรวจ แสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นกลุ่มนี้ได้งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะเด็กผู้ชายที่ได้รับสื่อบ่อยๆ มีแนวโน้มจะงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าเด็กผู้ชายที่ไม่ได้รับสื่อ และ 50% ของเด็กผู้หญิง และ 41% ของเด็กชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์ตอบว่าได้ใช้ถุงยางในเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด ส่วนวัยรุ่นที่ได้รับสื่อครบทั้ง 3 ประเภท มีแนวโน้มที่จะรับการตรวจเลือดมากกว่าวัยรุ่นที่ไม่เคยได้รับสื่อ
คุยเรื่องเพศแบบเปิดใจ ช่วยสร้างความเสมอภาคทางเพศ
สำหรับวัยรุ่นหญิง การที่ได้รับสื่อที่ให้ข้อมูลเรื่องเพศตรงไปตรงมาทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น มองเห็นแง่มุมความเป็นธรรมระหว่างเพศมากขึ้น และการมีคู่รัก ไม่ได้หมายถึงต้องมีเพศสัมพันธ์ด้วย ส่วนวัยรุ่นชาย การได้รับสื่อทำให้มีแนวโน้มจะลดกิจกรรมทางเพศลง งดเว้นการมีเซ็กส์ และจริงจังกับการสร้างสัมพันธภาพกับผู้หญิงมากขึ้น ยิ่งกว่านั้น วัยรุ่นทั้งหญิงและชายที่ได้รับสื่อครบทั้ง 3 ประเภท มีแนวโน้มที่จะ สื่อสารเรื่องสุขภาพทางเพศกับพ่อแม่มากกว่าวัยรุ่นที่ไม่เคยได้รับสื่อถึง 4 เท่า การสำรวจพบว่า พ่อแม่ 45% ต้องการให้ลูกๆ คุยกับพ่อหรือแม่ แต่อีก 55% ตอบว่าต้องการให้ลูกๆ หาข้อมูลจากแหล่งอื่นมากกว่า สะท้อนว่าพ่อแม่จำนวนมากต้องการความช่วยเหลือให้สามารถพูดคุยเรื่องเพศกับลูกได้อย่างสะดวกสบายใจมากขึ้น
แปลสรุปและเรียบเรียงจากจดหมายข่าว Population Briefs: Reports on Population Council Research ของสภาประชากร (Population Council) ฉบับเดือนสิงหาคม 2551
You must log in to post a comment.