การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1
“การพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือจัดบริการและ
คุ้มครองสิทธิของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อม
ที่ท้องต่อ”
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือจัดบริการและคุ้มครองสิทธิของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ท้องต่อ ถือเป็นการประชุมครั้งแรกที่มีการกล่าวถึงสถานการณ์ผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่จำเป็นต้องท้องต่อเนื่องจากไม่สามารถยุติการท้องได้ ผู้หญิงกลุ่มนี้รวมถึงครอบครัว คนใกล้ชิดต้องตกอยู่ในภาวะกดดัน และมีความเครียดสูง ทำอย่างไรจึงจะทำให้ทุกท้องต่อเป็นท้องที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ทารกที่คลอดออกมามีความแข็งแรงปลอดภัย และแม่ได้รับการดูแล
การประชุมนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมถึง 50 คน บรรยากาศในห้องประชุมเต็มไปด้วยความสนใจ มีการแลกเปลี่ยนสถานการณ์ ในมิติที่ต่าง ๆ เพื่อร่วมกันหาทางออก
สรุปสาระสำคัญจากที่ประชุมได้ดังนี้
-
-
-
- พรบ.ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังนี้ ใช้ระยะเวลาในการออกกฎกระทรวงยาวนานมากในมาตรา 5 กล่าวถึงการให้สิทธิกับวัยรุ่นในการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ มีความย้อนแย้งกับกฎหมายอื่น ๆ เกี่ยวกับการให้อำนาจผู้ปกครองตัดสินใจแทนบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตรงนี้ยังส่งผลกับการตีความที่แตกต่างกันของนักกฎหมายแต่ละคน
-
-
-
-
-
- กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงตาม พรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ในต้นเมษายนนี้ ที่ประชุมมีความห่วงใยต่อนโยบายท้องต่อต้องได้เรียนสถาบันเดิมซึ่งมีการเขียนข้อยกเว้นเรื่องเด็กย้ายที่เรียน และการให้พักการเรียนชั่วคราวว่าจะเป็นเหตุให้ครูเลือกใช้ก่อนเป็นอันดับต้น
-
-
-
-
-
- องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ยังขาดแนวทางหรือรูปธรรมในการทำงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พบว่ามีสถานศึกษาหรือโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น โรงเรียนในสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาลหรือตำบล เลือกจะไม่นำกฎกระทรวงไปปฏิบัติ โดยอ้างว่าไม่ได้อยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ เสนอให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำเป็นคู่มือเกี่ยวกับมาตรฐานการป้องกันแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับท้องถิ่น และกำหนดหรือออกระเบียบ จะช่วยให้กลไกภายในขับเคลื่อนงานได้เป็นรูปธรรม และมีกฎหมายรองรับ
-
-
-
-
-
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ถูกมองว่าเป็นเจ้าภาพในการทำงานด้านจัดสวัสดิการสำหรับแม่วัยรุ่น ทำให้การทำงานขาดการบูรณาการ อย่างไรก็ตาม ทาง พม.มีการทำงานในระดับพื้นที่ (Area based) มีความพยายามเชื่อมกับกลไกต่าง ๆ ในชุมชน (Agency based)เพื่อจัดสวัสดิการสำหรับแม่วัยรุ่นโดยคำนึงความต้องการของแม่วัยรุ่นเป็นฐาน (Target based) แต่ยังเป็นเพียงโครงการนำร่องและมีงบประมาณแบบปีต่อปีในการดำเนินงาน
-
-
-
-
-
- กระทรวงแรงงานยังไม่เห็นบทบาทต่อการสวัสดิการสำหรับผู้หญิงท้องต่อ พบว่า ผู้หญิงแรงงานในระบบเองยังไม่มี Day care ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพในการดูแลเด็ก การตัดสินใจว่าจะมี/ไม่มีลูก
-
-
You must be logged in to post a comment.